วันศุกร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2553

เซลล์ของสิ่งมีชีวิต

เซลล์ของสิ่งมีชีวิต
 เซลพืช  ผนังเซลล์ เป็นเยื่อหนา หุ้มอยู่ชั้นนอก ของเยื่อหุ้มเซลลื ผนังเซลล์น ี้โปรโตปลาสซึมสร้างขึ้นมา เพื่อเพิ่มความแข็งแรง พบในแบคทีเรีย เห็ดรา สาหร่าย พืชชนิดต่างๆ
ในแบคทีเรีย ผนังเซลล์มีโพลีแซคคาไรด์เป็นแกน และมีโปรตีน กับไขมันยึดเกาะ ชั้นที่ให้ความแข็งแรง และอยู่ชั้นในสุด เรียกว่า ชั้นมิวรีน หรือเปปติโดไกลแคน (murein หรือ peptidoglycan)
เห็ดรา ผนังเซลล์เป็นพวกไคติน ( chitin) ซึ่งเป็นสารประกอบ ชนิดเดียวกันกับเปลือกกุ้ง บางครั้งอาจพบว่า มีเซลลูโลสปนอยู่ด้วย สาหร่าย ผนังเซลล์ประกอบด้วยเพคติน ( pectin) เป็นส่วนใหญ่ และมีเซลลูโลสประกอบอยู่ด้วย
ในพืช ผนังเซลล์ ประกอบด้วย เซลลูโลส และสารประกอบเพคติก เช่น แคลเซียมเพคเตด เป็นต้น ผนังเซลล์พืชที่อยู่ติดๆ กัน ถึงแม้จะหนา และแข็งแรง แต่ก็มีช่องทางติดต่อกันได้ เป็นทางติดต่อของไซโตปลาสซึมทั้ง 2 เซลล์ ที่เรียกว่า พลาสโมเดสมาตา ( plasmodesmata)
  ผนังเชลล์ [ cell wall ] เป็นโครงสร้างที่ไม่มีชีวิตที่หุ้มรอบนอกของเซลล์พืชเป็นส่วนใหญ่ ประกอบด้วยสารพวกเซลล์ลูโลส พบในเซลล์ที่ต้องการความแข็งแรง
เยื่อหุ้มเซลล์ [ cell membrane ] เป็นเยื่อบางๆ ที่หุ้มรอบไซโทพลาซึม และสารบางอย่างภายในเซลล์ มีองค์ประกอบเป็นหลักเป็นสารพวกโปรตีนและไขมันมีคุณสมบัติบางชนิดให้สารผ่านได้ เรียกว่า เยื่อเลือกผ่าน (semipermeable membrane ) พบในเซลล์ทุกชนิด
โพรโทพลาซึม [protoplasm ] เป็นของเหลวที่มีลักษณะกึ่งแข็งกึ่งเหลว
ไซโทพลาซึม [cytoplasm ] เป็นโพรโทพลาซึมที่อยู่นอกนิวเคลียส ประกอบด้วยสารหลายชนิด ทั้งมีชีวิตและไม่มีชีวิต
นิวเคลียส [nucleus ] เป็นโครงสร้างที่สำคัญที่สุดภายในเซลล์ ส่วนใหญ่มีรูปร่างค่อนค่างกลม มักจะมีจำนวนเพียง 1 นิวเคลียส ยกเว้นเซลล์เม็ดเลือดขาว พบว่านิวเคลียสมีหลายชนิดเช่น นิวเคลียสที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเซลล์สิ่งมีชีวิตร่วมกับไซโทพลาซึม มีบทบาทเกี่ยวกับการแบ่งเซลล์ และมีหน้าที่เกี่ยวกับการถ่าทอดลักษณะทางพันธุกรรม 

หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต


1.ความหมายของเซลล์
  
  เซลล์  หมายถึง  หน่วยที่เล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิตซึ่งยังคงสมบัติของการมีชีวิต กล่าวคือ มีกิจกรรมระดับเซลล์อยู่ ( metabolism)
 
2.ขนาดและรูปร่างของเซลล์
 
    เซลล์มีขนาดแตกต่างกันมาก เซลล์ส่วนใหญ่มีขนาดเล็กไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องดู ซึ่งสามารถเห็นเซลล์แบคทีเรีย ,โพรโทซัว ,เซลล์ร่างกายทั่วไป แต่ก็มีเซลล์บางชนิดที่มีขนาดใหญ่ สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน เช่นเซลล์ไข่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเซลล์ไข่ของสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ปีกซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลางหลายเซนติเมตร หน่วยที่ใช้วัดเซลล์จึงต้องมีขนาดเล็กด้วย
     รูปร่างของเซลล์แต่ละชนิดจะแตกต่างกันไปตามชนิด หน้าที่ ตำแหน่งที่อยู่ของเซลล์ ดังนั้นจึงพบเซลล์ที่มีรูปร่างไม่แน่นอน เช่น เซลล์อะมีบา เซลล์เม็ดเลือดขาวบางชนิด เซลล์ที่มีรูปร่างยาว เช่นเซลล์ประสาท เซลล์อสุจิ เซลล์ที่มีรูปร่างแหลมหัวแหลมท้าย เช่น เซลล์กล้ามเนื้อเรียบ เซลล์ที่มีรูปร่างแบน เช่นเซลล์เยื่อบุผิว  เซลล์เม็ดเลือดแดง เป็นต้น
 
3.ส่วนประกอบของเซลล์
    
ผนังเซลล์ ( Cell Wall ) เป็นส่วนประกอบชั้นนอกสุดของเซลล์พืช และเป็นส่วนที่ไม่มีชีวิต ประกอบด้วยสารหลายชนิด เช่น เซลลูโลส, คิวติน, เพกติน ลิกนิน , ซูเบอริน ผนังเซลล์มีลักษณะเป็นรูพรุน  ทำหน้าที่เสริมสร้างความแข็งแรงให้แก่เซลล์ ทำให้เซลล์คงรูปร่างได้ ผนังเซลล์มีสมบัติยอมให้สารแทบ   ทุกชนิด ผ่านเข้าออกได้และมีเฉพาะในเซลล์พืชเท่านั้น
 
             
เยื่อหุ้มเซลล์ ( Cell membrane หรือ plasma membrane ) มีลักษณะเป็นเยื่อบางๆ ประกอบด้วย
สารไขมันและโปรตีน เยื่อหุ้มเซลล์มีรูเล็กๆ ทำให้สามารถจำกัดขนาดของโมเลกุลของสารที่จะผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ ดังนั้นเยื่อหุ้มเซลล์จึงมีสมบัติเป็นเยื่อเลือกผ่าน หรือเซมิเพอเมียเบิลเมมเบรน (Semipermeable  membrane)
             

                        เยื่อหุ้มเซลล์มีหน้าที่
1)    ห่อหุ้มส่วนประกอบภายในเซลล์ให้คงรูปอยู่ได้
2)    ควบคุมปริมาณและชนิดของสารที่ผ่านเข้าและออกจากเซลล์ทำให้ปริมาณของสารต่าง ๆ     ภายในเซลล์พอเหมาะ
3)    เป็นตำแหน่งที่มีการติดต่อระหว่างเซลล์กับสิ่งแวดล้อมภายนอก
 ไซโทพลาซึม  ( Cytoplasm )  มีลักษณะเป็นของเหลว ประกอบด้วยสารที่สำคัญปนอยู่ คือ โปรตีน ไขมัน  คาร์โบไฮเดรต และเกลือแร่ต่างๆ รวมทั้งของเสียที่เกิดขึ้น ไซโทพลาซึมเป็นศูนย์กลางการทำงานของเซลล์ เกี่ยวกับเมตาโบลิซึม ทั้งกระบวนการสร้างและสลายอินทรียสาร ไซโทพลาซึมประกอบด้วยส่วนประกอบภายในที่อาจเรียกว่า อวัยวะของเซลล์  organelle มีหน้าที่แตกต่างกัน ได้แก่
1)    ร่างแหเอนโดพลาซึมหรือเอนโดพลาสมิกเรติคูลัม (endoplasmic reticulum) มีทั้งชนิดเรียบและชนิดขรุขระ ทำหน้าที่ขนส่งสารภายในเซลล์
 
        กอลจิคอมเพลกซ์ ( golgi complex หรือ golgi bodies หรือ golgi apparatus) เป็นที่สะสมโปรตีนเพื่อส่งออกนอกเซลล์ 
 
ไมโทคอนเดรีย ( mitochondria ) มีลักษณะเป็นก้อนกลมๆ มีผนังหุ้มหนาที่ประกอบด้วยเยื่อ              2 ชั้น มีหน้าที่เผาผลาญอาหารเพื่อสร้างพลังงานให้แก่เซลล์
 
คลอโรพลาสต์ ( chloroplast) พบเฉพาะในเซลล์พืชมีหน้าที่ดูดพลังงานแสง เพื่อใช้ในกระบวน การสังเคราะห์ด้วยแสง ( กระบวนการสร้างอาหารของพืช ) 
 
แวคิวโอ ( vacuole ) มีขนาดใหญ่มากในเซลล์พืช มีลักษณะเป็นถุงมีเยื่อหุ้มบางๆ และเป็นที่สะสมสารต่างๆ มีน้ำเป็นส่วนใหญ่ เรียกว่า เซลล์แซพ ( cell sap ) มีเกลือ น้ำตาล และสารเคมีอื่นๆ ละลายอยู่ภายใน


4. นิวเคลียส ( Nucleus ) มีลักษณะค่อนข้างกลม เป็นโครงสร้างของเซลล์ที่เห็นชัดอยู่ตรงกลางเซลล์ ทำหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมกิจกรรมต่างๆ ภายในเซลล์ ถูกควบคุมโดยคำสั่งจากนิวเคลียสมีส่วนประกอบ คือ

1) เยื่อหุ้มนิวเคลียส ( nuclear membrane)

2) นิวคลีโอพลาซึม ( nucleoplasm ) คือ ส่วนที่อยู่ภายในเยื่อหุ้มนิวเคลียส ประกอบด้วย
นิวคลิโอลัส ( Nucleolus ) เป็นแล่งสังเคราะห์และรวบรวมกรดไรโบนิวคลีอิค ( ribonucleic acid )
เรียกย่อว่า RNA ทำหน้าที่นำคำสั่งจากนิวเคลียสไปยังเซลล์ส่วนอื่นๆ และสร้างไรโบโซมเพื่อไปทำหน้าที่สังเคราะห์โปรตีนโครมาติน (Chromatin ) คือ ร่างแหโครโมโซม โครโมโซมประกอบด้วย DNA

( Deoxyribo nucleic acid ) หรือยีน ( Gene ) และโปรตีนหลายชนิด ยีนเป็นตัวควบคุมการแสดงออกของลักษณะต่างๆ ในสิ่งมีชีวิตเป็นตัวถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากพ่อแม่ไปสู่ลูกหลาน
 
 
 
 
 

วันเสาร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ตัวอย่างพันธุกรรมที่มีการถ่ายทอด



ลักษณะพันธุกรรรมที่นอกเหนือกฏเมนเดล

มัลติเปิลอัลลีน
     ลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตอาจถูกควบคุมโดยยีนซึ่งมีมากกว่า 2 อัลลีนก็ได้ ทำให้มีจีโนไทป์และฟีโนไทป์ได้มากมายหลายแบบ ยีนที่เป็นอัลลีนกันได้มากกว่า 2 ยีน ขึ้นไป เรียกว่า มัลติเปิลอัลลีน ( multiple alleles )  ตัวอย่างเช่นหมู่เลือดระบบ ABO ควบคุมโดยยีน 3 อัลลีน คือ ยีน  I A, IB,  และ i    โดย  I A, IB  เป็นอัลลีลที่ควบคุมการสังเคราะห์แอนติเจน A และ B
ตามลำดับ  ซึ่งต่างก็เป็นยีนเด่นทั้งคู่   ส่วน i  เป็นอัลลีลที่ทำให้เซลล์ไม่สามารถสังเคราะห์แอนติเจน A หรือ B ซึ่งเป็นยีนด้อย หมู่เลือดของคนจึงมีจีโนไทป์ และ ฟีโนไทป์ หลายแบบ ดังนี้

จีโนไทป์
ฟีโนไทป์
I A /  I A
หมู่เลือด A
I A /  i
หมู่เลือด A
IB /  IB
หมู่เลือด B
IB /  i
หมู่เลือด B
I A /  IB
หมู่เลือด AB
i   /  i
หมู่เลือด O


         ในการนำกฏของเมนเดลมาใช้กับคนนั้น  นักเรียนจะต้องจำไว้เสมอว่า กฎเมนเดลนั้นใช้ในการทำนายโอกาส มิใช่ทำนายจำนวน  ทั้งนี้เนื่องจากจำนวนคนในครอบครัวของคนนั้นมีน้อยมาก เมื่อเทียบกับจำนวนพืชและสัตว์ในแต่ละกลุ่ม ดังนั้น กฎเมนเดลจึงใช้ทำนายโอกาสเป็นหลัก ดังเช่น  สมมติว่าพ่อมีเลือดหมู่  O  แม่มีเลือดหมู่ AB  รุ่นลูกมีโอกาสมีเลือดหมู่ A คิดเป็น
1:2 หรือ  50 เปอร์เซ็นต์ ของลูกทั้งหมด และ ลูกมีโอกาสมีเลือดหมู่ B คิดเป็น 1:2หรือ  50 เปอร์เซ็นต์ ของลูกทั้งหมด  มิได้หมายความว่า  หากมีลูก 2 คน คนหนึ่งจะต้องมีหมู่เลือด  A และอีกคนหนึ่งจะต้องมีหมู่เลือด B  เสมอไป แต่หมายความว่า
ลูกแต่ละคนจะมีโอกาสมีจีโนไทป์แบบ   I A /  i   เท่ากับโอกาสที่จะเป็นแบบ  IB /  i
           
มัลติเปิลยีน
        ลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตมีมากมาย แต่มิใช่ว่า แต่ละลักษณะจะต้องถูกควบคุมโดยยีนเพียงคู่เดียวเสมอไป บางลักษณะถูกควบคุมด้วยยีนหลายคู่ เช่น ความสูงของคน  สีผิวของคน น้ำหนักและขนาดของผลไม้  เป็นต้น  ลักษณะเหล่านี้เป็นลักษณะที่มีความแปรผันต่อเนื่อง การศึกษาลักษณะทางพันธุกรรมเหล่านี้จะต้องอาศัยวิเคราะห์ข้อมูลจากการวัดขนาด การชั่งน้ำหนัก และการคำนวณต่างๆ จึงเรียกลักษณะแบบนี้ว่า  ลักษณะทางปริมาณ  ( quantitative trait หรือ metric trait ) ยีนที่ควบคุมลักษณะแบบนี้เรียกว่า  พอลิยีน (polygene ) หรือ มัลติเปิลยีน ( multiple gene )  ซึ่งอาจมีตั้งแต่ 2 ถึง 40 คู่
และอาจอยู่บนโครโมโซมคู่เดียวกันหรือกระจัดกระจายอยู่บนโครโมโซมหลายคู่ การแสดงออกของลักษณะที่ควบคุมโดยพอลิยีนนี้มักแปรผันไปตามอิทธิพลของสิ่งแวดล้อม
      ตัวอย่างหนึ่งของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมที่ถูกควบคุมโดยพอลิยีน คือสีของเมล็ดข้าวสาลี ซึ่งมียีนควบคุม 3 คู่ ถ้ากำหนดให้ R1 R2 R3  เป็นยีนที่ทำให้เมล็ดข้าวสาลีมีสีแดง ส่วนแอลลีลของยีนเหล่านี้ คือ  r1  r2   และ r3  เป็นยีนที่ทำให้เมล็ดข้าวสาลีไม่มีสี  ยีนที่ควบคุมการมีสีหรือไม่มีสีจะแสดงออกได้เท่าๆกัน ดังนั้นเมล็ดข้าวสาลีที่มีจีโนไทป์   r1 r1    r2 r2   r3r3    จะแสดงลักษณะเมล็ดสีขาว  ส่วนพวกที่มีจีโนไทป์   R1 R1   R2R2  R3R3  จะแสดงลักษณะเมล็ดสีแดงเข้ม ถ้าจีโนไทป์มียีนควบคุมสีแดงจำนวนมากขึ้น สีของเมล็ดจะเข้มขึ้นเป็นลำดับ
ประเภทของลักษณะทางพันธุกรรม
ลักษณะทางพันธุกรรมจำแนกได้เป็น 2 ประเภทคือ
1. ลักษณะพันธุกรรมที่มีความแปรผันต่อเนื่อง (Continuous Variation)
ลักษณะพันธุกรรมที่มีความแปรผันต่อเนื่อง (Continuous Variation) ลักษณะทางพันธุกรรมที่ไม่สามารถแยกความสามารถแยกความแตกต่างได้อย่างเด่นชัด ความแตกต่างของลักษณะจะปรากฏเป็นลำดับต่อเนื่องกันไปตั้งแต่เล็กไปใหญ่ หรือแตกต่างน้อย ๆ จนถึงระดับแตกต่างกันมาก ๆ ทำให้ยากต่อการที่จะจัดหมวดหมู่ชนิด และอัตราส่วน จะแยกอย่างเด็ดขาดได้ยาก ลักษณะที่มีความแปรผันต่อเนื่อง มักจะถูกควบคุมโดยยีนหลายคู่ (Polygenes or Multiple genes) แปรผันได้ง่าย เมื่อได้รับอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อม ลักษณะพันธุกรรมเช่นนี้มักเกี่ยวข้องกับทางด้านปริมาณ (quantitative trail) เช่น สีผิวปกติของคน ความสูง น้ำหนัก โครงร่าง และระดับสติปัญญาของคน หรือในพืชและสัตว์ ได้แก่ ขนาดร่างกาย ผลผลิต ปริมาณการให้เนื้อ นม และไข่ เป็นต้น
2. ลักษณะพันธุกรรมที่มีความแปรผันไม่ต่อเนื่อง (Discontinuous Variation)
ลักษณะพันธุกรรมที่มีความแปรผันไม่ต่อเนื่อง (Discontinuous Variation) เป็นลักษณะทางพันธุกรรมที่มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน มักถูกควบคุมโดยยีนน้อยคู่ไม่ผันแปรโดยอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมและสามารถจำแนกชนิดของลักษณะที่ปรากฏให้เป็นหมวดหมู่ได้ง่าย ลักษณะพันธุกรรมเช่นนี้ เป็นลักษณะที่เรียกว่า ลักษณะคุณภาพ (qualitative trail) เช่น ความสามารถในการห่อลิ้น การถนัดมือขวาหรือมือซ้าย จำนวนชั้นของหนังตา การมีลักยิ้มของคน คนผิวปกติกับคนผิวเผือก พันธุกรรมหมู่เลือด การมีติ่งหูหรือไม่มีติ่งหูของคน เป็นต้น


อิทธิพลของเพศต่อการแสดงออกของยีน  
        เซลล์ของมนุษย์ทั้งเพศหญิงและเพศชาย จะมีโครโมโซมคล้ายกัน  22  คู่  เรียก ออโตโซม (Autosome)  ใช้สัญญลักษณ์แทนด้วย  A ส่วนโครโมโซมที่เหลืออีก 1 คู่  เป็นโครโมโซมที่กำหนดเพศ เรียกโครโมโซมเพศ (Sex  chromosome) ในเพศหญิงใช้สัญญลักษณ์ XX ในเพศชายใช้สัญญลักษณ์ XY
      โครโมโซม X มีขนาดใหญ่มียีนจำนวนมาก ซึ่งมีทั้งยีนเกี่ยวเนื่องกับเพศ และที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับเพศ
      โครโมโซม Y  มีขนาดเล็ก มียีนอยู่จำนวนน้อย  ได้แก่ยีนที่ควบคุมลักษณะของเพศชายลักษณะที่มีขนตามบริเวณใบหู ก็ควบคุมโดยยีนที่อยู่บนโครโมโซม  Y ด้วย ซึ่งลักษณะดังกล่าวจะถ่ายทอดจากพ่อไปยังลูกชายและจากลูกชายไปยังหลานชาย
       ส่วนลักษณะทางพันธุกรรมที่ควบคุมโดยยีนบนโครโมโซม X จะพบได้ทั้งในเพศหญิงและเพศชาย มีโรคทางพันธุกรรมบางอย่างที่ควบคุมโดยยีนด้อยบนโครโมโซม X ดังนั้น เพศชายซึ่งมีโครโมโซม X เพียงแท่งเดียวส่วนอีกแท่งหนึ่งเป็นโครโมโซม Y  แม้ได้รับยีนด้อยที่ผิดปกติ นั้นเพียงยีนเดียว ก็สามารถแสดงลักษณะของโรคพันธุกรรมนั้นให้ปรากฏออกมาได้ ส่วนในผู้หญิงมีโครโมโซม X  อยู่ 2 แท่ง ถ้ามียีนผิดปกติที่ควบคุมโดยยีนด้อยอยู่ 1 ยีน ก็จะยังไม่แสดงอาการของโรคพันธุกรรมนั้นให้ปรากฎ ทั้งนี้เพราะโครโมโซม X  อีกแท่ง มียีนปกติ
ที่ควบคุมโดยยีนเด่นอยู่ ยีนปกติดังกล่าวจะข่มการแสดงออกของยีนผิดปกติ  ทำให้ผู้หญิงไม่แสดงลักษณะ
โรคพันธุกรรมปรากฏออกมา  ลักษณะที่ควบคุมโดยยีนด้อยบนโครโมโซม X ได้แก่ ตาบอดสี โรคฮีโมฟีเลีย (hemophilia) และภาวะพร่องเอนไซม์ กลูโคส-6-ฟอสเฟตดีไฮโดรจิเนส ( glucose –6-phosphate dehydrogenase deficiency ) หรือ G-6-PD
    ดังตัวอย่างเช่น ลักษณะ ตาบอดสีเป็นลักษณะที่ควบคุมโดยยีนที่อยู่บน โครโมโซม X มีอัลลีลที่เกี่ยวข้องคือ
C  และ c  มีจีโนไทป์และฟีโนไทป์ดังนี้
     

จีโนไทป์

ฟีโนไทป์
ชาย
หญิง
c   หรือ XcY
c/c   หรือ Xc Xc
ตาบอดสี
C   หรือ XCY
C/c   หรือ XC Xc
ตาปกติ

C/C   หรือ XC XC
ตาปกติ


 

ลักษณะทางพันธุกรรม

ลักษณะปรากฏ (อังกฤษ: phenotype) หมายถึงลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างกัน สามารถมองเห็น หรือชั่ง ตวง วัดได้ ลักษณะปรากฏได้แก่ ลักษณะสีนัยน์ตา สีผม ความสูง สีของขนสัตว์ สีของดอกไม้ ลักษณะของเมล็ด ความฉลาด ความถนัด
ลักษณะทางพันธุกรรม (อังกฤษ: genotype) หมายถึงลักษณะองค์ประกอบของยีน (gene) ของสิ่งมีชีวิตที่มีการแสดงออกเป็นลักษณะปรากฏที่แตกต่างกัน และสามารถถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งไปยังรุ่นอื่นๆ ต่อไปได้ โดยการถ่ายทอดยีน
ในการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจะมีหน่วยควบคุมลักษณะ (genetic unit) ควบคุมสิ่งมีชีวิตให้มีรูปร่าง และลักษณะเป็นไปตามเผ่าพันธุ์ของพ่อแม่ เรียกว่า ยีน ดังนั้นยีนจึงทำหน้าที่ควบคุมการถ่ายทอดลักษณะต่างๆ จากบรรพบุรุษไปสู่รุ่นหลาน
ลักษณะต่างๆ ที่ถ่ายทอดไปนั้นพบว่าบางลักษณะไม่ปรากฏในรุ่นลูก แต่อาจจะปรากฏในรุ่นหลานหรือเหลนก็ได้ จึงมีผลทำให้เกิดความแตกต่างกันของลักษณะทางพันธุกรรมจนมีผลทำให้สิ่งมีชีวิตเกิดความหลากหลาย แต่การสะสมลักษณะทางพันธุกรรมจำนวนมากทำให้เกิดสปีชีส์ต่างๆ และสามารถดำรงเผ่าพันธุ์ไว้ได้จนถึงปัจจุบัน